วิธีปฏิบัติแก้อาการปวดหลังในการใช้โต๊ะคอม

1. การเลือกขนาดของโต๊ะคอม เก้าอี้ให้เหมาะสมพอดีกับสรีระ

2. ไม่ควรใช้เก้าอี้สปริงที่เอนได้ เพราะไม่มีการรองรับหลังเท่าที่ควร ควรเลือกเก้าอี้ที่เอนได้และมีความสูงของเก้าอี้และโต๊ะคอมได้ระดับ

3. นั่งในท่าที่เหมาะสมและมีหมอนรองหลัง ไม่ควรนั่งขัดสมาธิเวลาใช้คอมนานๆ เพราะจะทำให้เมื่อยมากกว่าเดิม 2 เท่า เนื่องจากเมื่อยจากท่านั่งขัดสมาธิอยู่แล้ว ควรนั่งบนเก้าอี้ปกติ เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ที่วางอยู่บนโต๊ะในตำแหน่งมาตรฐาน ควรหาหมอนขนาดกำลังพอเหมาะมารองพนักพิงหลัง เพื่อรองรับกระดูกสันหลัง ชะลออาการเมื่อยได้ หากต้องทำงานหรือต้องนั่งหน้าคอมเวลานาน ควรเลือกเก้าอี้ที่ช่วยให้นั่งสบายเวลาทำงานโดยเฉพาะ

4. คอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องปรับให้จออยู่ในระดับสายตา คือกึ่งกลางของจออยู่ระดับสายตา ให้อยู่ห่างระดับสายตาประมาณ 2.5 ฟุต กำลังพอเหมาะ และอยู่ในระดับสายตา พอดีกับระดับเก้าอี้ที่นั่ง นอกจากนี้การใช้จอแบบ LED ที่แพร่หลายในปัจจุบัน เพื่อลดการสะท้อนของเงาและช่วยถนอมสายตาอีกด้วย

5. แป้นคีย์บอร์ด ควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ จะได้ไม่ต้องยกแขนขึ้นมาพิมพ์ ตั้งจอ ปรับจอให้อยู่ในระดับสายตา ไม่ไกล ไม่ใกล้จนเกินไป

6. ใช้เมาส์ ควรเป็นแทรกกิ้งบอล หรือไร้สาย ที่นำมาใกล้ตัวได้ ใช้ถนัดไม่ต้องยื่นแขน

7. ควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น

8. ลุกขึ้น เปลี่ยนอริยาบถ เราไม่ควรนั่งท่าเดิมๆเป็นเวลานานติดต่อกัน ลุกขึ้นบิดขี้เกียจ หาของกิน เข้าห้องน้ำ หรือออกไปยืดเส้นยืดสายบ้างข้างนอกบ้างก็ได้ ทุกๆ 30-45 นาที ออกไปข้างนอกตัวอาคารได้เลยยิ่งดี เพื่อที่จะให้สายตาได้เจอกับแสงในระดับที่ต่างกันบ้าง หรือไม่ก็ลุกขึ้นทำท่ายืดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ คอ แขน หลัง และ ขา ยืดค้างไว้ข้างละประมาณ 10 วินาที

9. กระพริบตา มองออกไปในระยะไกล การกระพริบตาถี่ๆ จะช่วยให้น้ำมาหล่อเลี้ยงดวงตามากขึ้น หรือหลับตาเอนหลังสักพัก เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อน เหมือนนอนหลับ หรือจะมองออกไปในระยะไกลสุดสายตา ไม่ต้องจ้องหรือโฟกัสจุดไหน เพราะตาจะได้ไม่เกร็ง เป็นการผ่อนคลายสายตาได้ดีมากวิธีหนึ่ง นอกจากนี้การดื่มน้ำเป็นระยะๆและ นำฝ่ามืออุ่นๆมาประคบดวงตา ยังช่วยผ่อนคลายอาการเมื่อยของดวงตาได้

10. ควรบริหารร่างกายอยู่สม่ำเสมอ ท่าง่ายๆ นอกจากเดินไปมาคือการบีบคอ ยืดกล้ามเนื้อคอ เอียงไปซ้ายและขวา ก้มหน้าเงยหน้า โดยแต่ละท่าค้างไว้ 10 วินาที ต่อมาเป็นการยืดกล้ามเนื้อหลังโดยการก้มตัว หน้าอกประชิดหัวเข่า การยืดและคลายกล้ามเนื้อควรทำช้าๆ และค้างไว้ 10 วินาทีเช่นกัน เพื่อให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นยืดตัว ถ้าก้มแรงๆ หรือกระแทกแรงๆ จะทำกล้ามเนื้อฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้